สะอึก (Hiccup หรือ Hiccough หรือ Singultus) คืออะไร? อาการสะอึกเกิดจากอะไร? สาเหตุอาการสะอึกคืออะไร? มีวิธีแก้สะอึกไหม? พวกเราหลายคนคงเคยเจอปัญหาเล็กๆ ที่สร้างความรำคาญใจ จากอาการสะอึก วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจ สาเหตุของอาการสะอึกเกิดจากอะไร? ทำไมเราต้องสะอึก รวมถึง 13 วิธีแก้สะอึก ที่ได้ผล คุณเองก็แก้อาการสะอึกเองได้ มาลองกันเลยค่ะ
อาการสะอึก ภาษาอังกฤษ (Hiccup) เป็นอาการที่สามารถพบได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ตั้งแต่วัยทารกที่อยู่ในครรภ์จนถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างฉับพลันและเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะร่างกายไม่สามารถควบคุมอาการได้นั่นเอง หรือที่เรียกกันว่าเป็น Reflex แต่เราสามารถแก้อาการสะอึกได้ด้วยตัวเอง หากรู้ วิธีแก้สะอึก อย่างถูกต้อง
13 วิธีแก้สะอึก สาเหตุและทำอย่างไรให้หายเร็วทันใจด้วยตัวเอง

สาเหตุของอาการสะอึก
อาการสะอึกเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การรับประทานอาหารเร็วหรือรับประทานมากเกินไป รับประทานอาหารที่มีแก๊สเยอะ อาหารรสจัด การรับประทานอาหารที่ทำให้อุณหภูมิของกระเพาะอาหารมีการเปลี่ยนแปลงทันทีขณะท้องว่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีฟองหรือทำให้เกิดแก๊ส
นอกจากนี้ยังเกิดจากการสูบบุหรี่จัด การหายใจเอาควันเข้าไปเป็นจำนวนมาก ภาวะทางอารมณ์ที่เครียดจัดหรือตื่นเต้น หรืออาจจะมีก้อนที่อยู่ในบริเวณลำคอ และเป็นอาการข้างเคียงที่มาจากยารักษาโรคบางชนิด
วิธีแก้สะอึก ด้วยตัวเอง ให้หายเร็วทันใจ
อาการสะอึกเป็นอาการที่สามารถหายได้เอง โดยใช้วิธีแก้สะอึกตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา ซึ่งรับรองกันหลายเสียงแล้วว่าได้ผลดีพอสมควร ด้วยความเชื่อที่ว่าสามารถช่วยขัดขวาง Reflex ที่ก่อให้เกิดอาการสะอึกได้นั่นเอง
- สูดหายใจแล้วกลั้นไว้ เพียงสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นไว้ นับ 1 – 10 ค่อยหายใจออก จากนั้นดื่มน้ำตามทันที หรืออาจจะกลั้นหายใจไว้แล้วกลืนน้ำลาย 3 ครั้ง จึงค่อยหายใจตามปกติ และยังมีอีกวิธีคือให้แหงนหน้าขึ้นแล้วกลั้นหายใจนับ 1 – 10 จากนั้นหายใจออกทันที และดื่มน้ำ 1 แก้ว
- ดื่มน้ำเปล่า ให้ดื่มน้ำหรือจิบน้ำจากแก้วเร็วๆ ติดต่อกัน หรืออาจจะดื่มน้ำเย็นจัดติดต่อกันอย่างช้าๆ แล้วกลืนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายสะอึกหรือไม่สามารถกลั้นหายใจได้
- หายใจเข้าออกในถุง นำถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษมาครอบปากและจมูก จากนั้นหายใจในถุงสักพักจนกว่าจะรู้สึกไม่ไหว หายใจแบบหอบสั้นๆ ประมาณ 1 – 2 นาที ก็จะทำให้อาการสะอึกนั้นหายไป หรืออาจจะใช้มือปิดจมูกและป้องปากเอาไว้ โดยยังหายใจต่อไปเรื่อยๆ ตามปกติ เมื่อร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ก็จะช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้
- จิบน้ำมะนาว คั้นน้ำมะนาวสด 100% แล้วจิบปริมาณ 1 ช้อนชา หรืออาจจะใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลปริมาณ 1 ช้อนชา วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นปุ่มรับรสบนลิ้นแล้วทำให้หายสะอึกอย่างรวดเร็ว
- รับประทานน้ำตาลทราย มีผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า อาสาสมัครที่กลืนน้ำตาลทรายปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ โดยไม่ต้องละลายน้ำ สามารถช่วยระงับอาการสะอึกได้มากถึง 95% หรืออาจจะใช้วิธีกลืนก้อนขนมปัง ก้อนข้าว หรือก้อนน้ำแข็งก็ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
- อุดหูแล้วดูดน้ำจากหลอด ให้ใช้นิ้วมืออุดหูค้างไว้ประมาณ 20 – 30 วินาที หรือขณะที่อุดหูก็ได้ดูดน้ำจากหลอดไปพร้อมกัน หรือใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบจมูกค้างไว้จนรู้สึกว่าลมดันออกจากหู ทำซ้ำ 3 ครั้ง จะช่วยให้อาการสะอึกหายไป
- นวดกดจุด เป็นอีกวิธีหนึ่งของวิธีแก้สะอึกด้วยเช่นกัน โดยใช้นิ้วชี้กดที่ผิวนุ่มๆ บริเวณด้านหลังของติ่งหูที่ต่อจากกะโหลกศีรษะ ซึ่งจะช่วยส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทเวกัสที่ทอดยาวต่อจากก้านสมองและกะบังลมให้รู้สึกผ่อนคลาย
- พยายามจามออกมา อาจจะใช้เส้นผมเขี่ยภายในรูจมูกให้รู้สึกจั๊กจี้จนจามออกมา แล้วอาการสะอึกจะหายไปทันทีอย่างไม่น่าเชื่อ
- เพ่งสมาธิกับลมหายใจ โดยเริ่มจากการกำหนดลมหายใจเข้าออกตามปกติ แล้วเพ่งสมาธิไปที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว จะสังเกตเห็นว่าอาการสะอึกค่อยๆ ลดลงจนหายไปในที่สุด
- ทำให้ตกใจ โดยไม่ให้เจ้าตัวนั้นรู้ตัวมาก่อนอย่างเช่นการแอบตบไหล่จากข้างหลังแรงๆ หรืออาจจะทำให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการสะอึก อย่างเช่นความกลัวหรือความตื่นเต้น เป็นต้น
- ดื่มน้ำด้วยวิธีที่ยากขึ้น เพียงแค่อมน้ำเปล่าไว้ในปาก ก้มคางให้ชิดอกแล้วพยายามกลืนน้ำที่อมไว้ให้ได้ อาจจะเป็นวิธีแก้สะอึกที่ค่อนข้างแปลก แต่หลายคนบอกว่ามันได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมาก หรืออาจจะใช้วิธีดูดน้ำในแก้วด้วยหลอด แต่ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้บีบที่กลางหลอดไว้ เมื่อเราต้องออกแรงดูดน้ำก็จะทำให้กะบังลมต้องออกแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ช่วยต้านการกระตุกของกล้ามเนื้อได้ดี
- อุ้มพาดบ่า วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กทารก โดยอุ้มพาดบ่าไว้แล้วใช้มือลูบหลังเบาๆ เพื่อให้เรอออกมา
- วิธีอื่นๆ นำน้ำผึ้งปริมาณ 1 ช้อนชาผสมกับน้ำอุ่นแล้วจิบกลืนบ่อยๆ หรือกลืนผงโอวัลติน หรือเคี้ยวหัวข่าแก่ๆ แล้วดื่มน้ำ หรือใช้วิธีเคี้ยวเมล็ดผักชีลาวแล้วค่อยๆ กลืน
อาการสะอึกอาจจะเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป แต่ถ้ามีอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นอาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติอื่นๆ ของร่างกายหรือโรคบางชนิด เช่น อาการอักเสบในช่องท้องบริเวณกะบังลม โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือความผิดปกติทางด้านสมอง เป็นต้น
โรคที่กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่สะอึกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ถ้าใช้วิธีแก้สะอึกด้วยการไปพบแพทย์เพื่อรับการรัก